แนะนำตัว Dr.Pong

แนะนำตัว Dr.Aom

ร้อนใน ยามเปลี่ยนฤดู

ร้อนใน ยามเปลี่ยนฤดู

จากหน้าร้อนแล้งจัด ร่างกายของเรากรุ่นไปด้วยความร้อน เมื่อผ่านเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเย็นลง
แต่ความร้อนสะสมในร่างกายยังมีมาก
ทำให้เกิดอาการ ร้อนรุ่มในร่างกาย ครั่นเนื้อครั่นตัวไม่สบาย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย มึนศีรษะ ปวดศีรษะ บางคนมีความดันเลือดสูงขึ้น กินข้าวไม่ลง น้ำหนักตัวลด ปัสสาวะร้อนและมีน้อย ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ อาจจะมีแผลร้อนในปาก เป็นต้น
ในผู้สูงอายุ ทึ่เลือดลมเดินไม่ดี จะมีอาการเหล่านี้รุนแรงมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว

 

ยามนี้คนไทยโบราณนิยมปรับธาตุเพื่อเสริมสุขภาพเช่น

• กินของขม ดับอาการตะครั่นตะครอ เช่น ดอกแค ยอดมะระขี้นก แกงขี้เหล็ก ฝักเพกา เป็นต้น
• กินอาหารฤทธิ์เย็น ดับร้อน เช่น หน่อไม้ ใบย่านาง ใบบัวบก
• กินอาหารรสเปรี้ยว เช่น ยำมะม่วง ยำกระท้อน กินยอดมะขาม ยอดสัมป่อย ต้มใส่ปลา หรือเห็ด อาศัยรสเปรี้ยวมาเพิ่มภูมิต้านทานป้องกับไข้เปลี่ยนฤดู
• กินเมี่ยงคำปรับธาตุ ที่สำคัญคือการกินใบชะพลู
• ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อหล่อลื่นการไหลเวียนของเลือด จะได้อาศัยน้ำเลือดระบายเอาความร้อนออกไปเป็นเหงื่อ ในระยะนี้ คนโบราณจึงนิยมต้มน้ำมะตูมดื่มคลายร้อน

 

สำหรับยาสมุนไพรที่สามารถใช้คลายร้อนได้ เช่น

• ยาหอม โดยทั่วไปเป็นยาเย็น การที่เอายาหอมมาละลายน้ำ จะทำให้ได้น้ำไปลดความร้อนในเวลาเดียวกัน
• ยาเขียว ที่เป็นแท่ง ฝนละลายน้ำ กินแล้วอาการครั่นเนื้อครั่นตัวจะทุเลาลง
• ยาขม หรือน้ำจับเลี้ยง ที่มีส่วนผสมของดอกเก็กฮวย ใบไผ่ เม็ดในเพกา หล่อฮั้งก้วย ฯลฯ ก็สามารถดับร้อนในร่างกายได้

การสวนกาแฟก็ช่วยได้ เพราะจะแก้อาการท้องผูกในขณะที่ช่วยล้างพิษตับ เป็นการขับความร้อนสะสมออกไปนอกร่างกายได้เร็วขึ้น อย่าลืมว่าสวนกาแฟทุกครั้ง จะต้องตามด้วยการกินโสม 1 เม็ด กับขมิ้นชัน 5 เม็ด เพื่อการขับสารพิษออกนอกร่างกายจะหมดจดยิ่งขึ้น

สุดท้าย การแช่น้ำในสระน้ำ เดินออกกำลังในระดับความลึกของน้ำเพียงอก จะช่วยทำให้ผ่อนคลาย คลายร้อน ประกอบกับการออกกำลังกาย จะทำให้คลายเครียด และนอนหลับได้ดีขึ้น
การนอนหลับที่ดี หลับลึก จะช่วยกำจัดความร้อนออกจากร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้นด้วย เพราะร่างกายจะกำจัดความร้อนออกไปได้ดี ก็ต่อเมื่อนอนหลับได้ดี

มาตรการที่กล่าวมาอาจจะต้องทำไปพร้อม ๆ กันทั้งหมด จึงจะเห็นผลในการลดความร้อนในร่างกายลง