แนะนำตัว Dr.Pong

แนะนำตัว Dr.Aom

Treatment Training and Activities (2)

< >

Balavi Delivery อาหารสุขภาพ

จานอร่อยเพื่อคนสุขภาพดี จานรักษาโรค ตามแพทย์แนะนำ

โยคะ เพื่อสุขภาพ

การดูแลสุขภาพที่ส่งผลดีต่อด้านร่างกาย และด้านจิตใจ

บรรยาย สัมมนาสุขภาพ

รับจัดบรรยาย สัมมนาสุขภาพ ให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ

คอร์สธรรมชาติบำบัด

สอนปฏิบัติ แนะวิธีดูแลสุขภาพด้วยอาหาร ออกกำลังกาย

ไฮโดรแอโรบิค

การออกกำลังกาย เคลื่อนไหวในน้ำต่อเนื่องกัน มีความหนัก ความเบาผสมผสานกัน มีจังหวะของดนตรี

Iridology

อ่านม่านตา เข้าใจสุขภาพ และปลดล็อค Inner เพื่อ Growth Mind Set

 ความหวังใหม่ของการรักษามะเร็ง

 

เคมีบำบัดแบบอาศัย"โมเลกุลสว่าน" ลองอ่านข้อเขียนของ Disayaphong Jainukhan :

          ผมรู้สึกแปลกใจนิดหน่อยว่าทำไมรางวัลโนเบลสาขาเคมีปีล่าสุดที่ประกาศผลไปเมื่อเดือนตุลาคม 2016 ถึงเลือกให้รางวัลกับผู้ที่คิดค้นโมเลกุลที่สามารถควบคุมให้เกิดการหมุนแบบมอเตอร์ (molecular motor) ไอเดียฟังดูน่าสนใจอยู่นะ แต่ก็แอบคิดว่ามันจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้ (วะ)

          หกเดือนต่อมา มีข่าวในแวดวงนาโนเทคโนโลยีว่า นักวิทยาศาสตร์จากห้องแล็บต่างๆ ทั่วโลกสร้าง "รถนาโน" ที่มี molecular motor เป็นตัวขับเคลื่อนให้ล้อหมุนได้ แล้วจับพวกมันมาวิ่งแข่งกัน ผมยิ่งรู้สึกตลกเข้าไปใหญ่ ตกลงไอ้ที่ได้โนเบลกันโครมครามนี่มึงจับมาแข่งเอามันส์แบบนี้กันเหรอครับ

          แต่เมื่อสองวันที่ผ่านมา ทัศนคติเชิงลบที่เคยมีต่อ molecular motor ของผมนี่หายไปจนหมดสิ้นหลังจากได้อ่านผลงานวิจัยเรื่องหนึ่งที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา

จั่วหัวว่า Nature ขนาดนี้ มันต้องไม่ธรรมดาแน่นอน !!

          ทีมวิจัยจาก Rice University ในสหรัฐนำโดยศาสตราจารย์ James M. Tour ได้สังเคราะห์โมเลกุลขึ้นมาชุดหนึ่งโดยได้รับแรงบันดาลใจจากโมเลกุลต้นแบบของ Ben Feringa เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีปีล่าสุด โมเลกุลที่ว่านี้มีพันธะเคมีอยู่หนึ่งตำแหน่งที่สามารถสั่งการให้มันหมุนได้โดยใช้แสงยูวีเป็นตัวควบคุม

          ศาสตราจารย์ทัวร์ได้ออกแบบโมเลกุลให้มีหัวที่แหลมและสามารถเจาะทะลุอะไรบางอย่างได้ แถมยังติดขาให้มันสองข้างด้วยสายเปปไทด์ (โปรตีนสายสั้นๆ) ให้มีความจำเพาะเจาะจงกับพื้นผิวพิเศษที่เขาอยากจะเจาะมันลงไป พื้นผิวที่ว่าก็คือ "เยื่อหุ้มเซลล์" นั่นเอง

          ภาพที่เกิดขึ้นมาในหัวของเขาตอนออกแบบการทดลองก็คือการสั่งให้โมเลกุล "สว่าน" ของเขาเจาะลงไปบนเยื่อหุ้มเซลล์จนเกิดรูเต็มไปหมด พอถึงการทดลองจริงๆ ศาสตราจารย์ทัวร์และทีมวิจัยก็นำเอาเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากมาทดสอบดูเพื่อความสะใจซะเลย

          เมื่อนำเซลล์มะเร็งมาแช่ในสารละลายที่มีโมเลกุลสว่านผสมอยู่ โมเลกุลสว่านจิ๋วจะเข้ามาเกาะบนเยื่อหุ้มเซลล์ได้เองโดยใช้ขาเปปไทด์ที่ออกแบบไว้เป็นตัวจับยึด เมื่อถึงเวลาอันสมควรฤกษ์ ศาสตราจารย์ทัวร์ก็กดปุ่มเปิดแพรคลุมป้าย ฉายแสงยูวีลงไปที่เซลล์มะเร็ง

          พันธะเคมีที่ได้รับแสงยูวีถูกกระตุ้นให้เกิดการหมุนด้วยความเร็วสูง สว่านจิ๋วจึงเจาะทะลวงเข้าไปในเยื่อหุ้มเซลล์ได้เมื่อฉายแสงเพียงแค่ 3 นาทีเท่านั้น เซลล์มะเร็งที่เคยมีเยื่อหุ้มเซลล์ปกป้องก็ถูกสว่านเจาะจนพรุน ไม่นานนักเซลล์มะเร็งก็ถึงแก่ความตาย

          การค้นพบนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของรักษามะเร็งด้วยวิธีใหม่ จากการฉายแสงวิธีเดิมที่ทำร้ายเซลล์ดีๆ ไปพร้อมกันด้วย ต่อไปนักวิทยาศาสตร์จะออกแบบโมเลกุลของสารเคมีให้เฉพาะเจาะจงกับเซลล์ที่ป่วยแล้วเข้าไปบำบัดที่กลุ่มเซลล์ที่กำลังมีปัญหาเพียงจุดเดียวเท่านั้น

          ถ้าการรักษามะเร็งแบบเดิมเรียกว่า "เคมีบำบัด" ผมขอเรียกวิธีการใหม่ที่ทีมวิจัยของศาสตราจารย์ทัวร์คิดค้นขึ้นมาว่า "สว่านเคมีบำบัด"

โคตรเท่เลยครับศาสตราจารย์ !!!

 

อ่านเพิ่มเติม - Nature 2017, DOI: 10.1038/nature23657

 

News feed